"หัวเสาเข็มคอนกรีตแตก" ระหว่างการตอก เกิดจากอะไรได้บ้าง มาดูกันครับ

9052 จำนวนผู้เข้าชม  | 

"หัวเสาเข็มคอนกรีตแตก" ระหว่างการตอก เกิดจากอะไรได้บ้าง มาดูกันครับ

"หัวเสาเข็มคอนกรีตแตก" ระหว่างการตอก เกิดจากอะไรได้บ้าง มาดูกันครับ
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงที่นำมาตอกแล้วเกิด การบิ่น แตก ร้าว หรือ ป่นเป็นผง ที่หัวเสาเข็ม เกิดขึ้นได้ง่ายอาจเกิดจากปัจจัยที่หลากหลาย


  1. คุณภาพของคอนกรีต (Concrete Quality) ที่ไม่ได้ตามมาตรฐาน
    คือ คอนกรีตสำหรับเสาเข็มอัดแรง ต้องมีกำลังรับแรงอัดประลัย (Compressive Strength) เมื่อทดสอบทรงกระบอกที่อายุ 28 วัน ไม่น้อยกว่า 350 กก/ตร.ซม.

  2. น้ำหนักตุ้มตอกไม่สัมพันธ์กับน้ำหนักของเสาเข็ม
    คือ ตุ้มตอกควรหนักประมาณ 0.75 ถึง 2.5 เท่า ของน้ำหนักเสาเข็ม และ ไม่ควรน้อยกว่า 3 ตัน หากน้ำหนักของตุ้มมากเกินไป จะเกิดแรงอัดที่เกินกำลัง (Over Compressive Stress) ที่หัวเสาเข็ม

  3. ระยะยกไม่สัมพันธ์กับน้ำหนักของตุ้มตอก
    คือ ตุ้มน้ำหนักมาก ระยะยกตอกควรน้อย และ ตุ้มน้ำหนักน้อย ระยะยกตอกจะมาก ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วง 0.30 ถึง 0.50 เมตร หากยกสูงจะเกิดแรงกระแทกสูงเกินกำลังของคอนกรีต

  4. ระนาบของตุ้มตอกกับหัวเสาเข็ม
    คือ หากพื้นที่หน้าสัมผัสของหัวเสาเข็มไม่สม่ำเสมอที่เกิดจากการติดตั้งปั้นจั่นกับเสาเข็ม (Alignment) แรงกระแทกที่เกิดจากตุ้มตอกจะทำให้เกิด แรงดัดที่เกินกำลัง (Over Bending Stress) ที่หัวเสาเข็ม

  5. เหล็กเสริมรับแรงอัด (Prestressing Steel) กับเหล็กปลอก (Spiral Reinforcement)
    ติดตั้งไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน (จะทราบได้ก็ต่อเมื่อหัวเสาเข็มแตกแล้ว)

ดังนั้น ควรตรวจสอบสิ่งต่างๆที่กล่าวมาก่อนทำการตอก จะลดการสูญเสียเสาเข็มได้มาก เพราะหากเสาเข็มที่ตอกเสียหาย นั้นหมายถึง ระยะเวลา และค่าใช้จ่ายสำหรับการแก้ไขจะเพิ่มขึ้นด้วยนะครับ


ขอบคุณการแบ่งปันความรู้ดีๆของคอนเซาวน์ของเรา ปุ๊ ณภัทร อักษ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้